การพัฒนาอุตสาหกรรมเกษตรแปรรูป
Source
- เสรีรายวัน (Th)
Thursday,
September 04, 2003 07:36
63848
XTHAI XCLUSIVE ISEP V%PAPERL P%SERE
กรุงเทพฯ--4 ก.ย.--เสรีรายวัน
การพัฒนาแบบบูรณาการ คือ
การพัฒนาให้เกิดมูลค่าเพิ่มในตัวผลิต สร้างเสถียรภาพด้านราคาและด้านการตลาด วางทิศทางการพัฒนาไปสู่ระดับสูงขึ้นเรื่อยๆบนแนวคิดของการพัฒนาเพื่อมุ่งสู่การเป็นประเทศอุตสาหกรรม
ไทยเราค่อนข้างพัฒนาแบบแยกส่วนกับพื้นฐานดั้งเดิมของประเทศ
นั่นคือการพัฒนาอุตสาหกรรมมุ่งเน้นผลิตสินค้าเทคโนโลยีขั้นสูง เพื่อตอบสนองความต้องการของประเทศพัฒนาแล้ว
เรานำเข้าทั้งเทคโนโลยี วัตถุดิบ หวังเพียงเพิ่มระดับการจ้างงานและเป็นผู้รับถ่ายทอดเทคโนโลยีส่วนภาคเกษตร
เรายังคงเป็นประเทศที่ส่งออกวัตถุดิบเป็นส่วนใหญ่
40 ปีที่ผ่านมาให้บทเรียนว่า
เรารับการถ่ายทอดเทคโนโลยีจากต่างชาติได้น้อยมาก
ทั้งเหตุผลจากข้อจำกัดของทรัพยากรมนุษย์ของเราเอง ขณะเดียวกัน
บริษัทต่างชาติที่เข้าลงทุนในบ้านเราก็พยายามกีดกันการถ่ายโอนเทคโนโลยี เพราะรู้ทันวัตถุประสงค์ของเราด้วยพื้นฐานของการเป็นประเทศเกษตรกรรม
เพราะความได้เปรียบ โดยเปรียบเทียบการพัฒนาอุตสาหกรรมเกษตรแปรรูปจึงเป็นทางออกที่น่าสนใจ
เพราะเราสามารถสร้างมูลค่าเพิ่มให้แก่สินค้าเกษตรในประเทศได้ ขณะเดียวกัน
ไม่ต้องลงทุนด้านเทคโนโลยีมากนัก
แม้ว่าการพัฒนาอุตสาหกรรมเกษตรไม่ใช่ยุทธศาสตร์ใหม่ แต่บ้านเรายังไม่มีความก้าวหน้าในการพัฒนาภาคอุตสาหกรรมกลุ่มนี้เท่าที่ควร
โดยความหมายแล้ว
อุตสาหกรรมเกษตรแปรรูปคือการนำผลผลิตจากภาคเกษตรและผลพลอยได้ต่างๆ
มาคิดค้นพัฒนาให้เกิดมูลค่าเพิ่มให้มากขึ้น อุตสาหกรรมแปรรูปจะมี 2 ภาค ได้แก่ ภาคอาหาร และภาคที่ไม่ใช่อาหาร เช่น ผ้าทอ จักสาน
การสนับสนุนอุตสาหกรรมเกษตรแปรรูป
ควรเป็นนโยบายโดยรวมที่สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงของโลก
นั่นคือเป็นอุตสาหกรรมที่ต้องผสมผสานระหว่างความรู้และวัตถุดิบที่เรามีอยู่
คนไทยในฐานะเป็นผู้ได้เปรียบจากพื้นฐานดั้งเดิม ต้องปรับกระบวนทัศน์ใหม่ ต้องรู้จักมองให้ลึกซึ้งเพื่อแสวงหาโอกาสในทุกด้านที่เกิดขึ้น
เพื่อให้เกิดการบูรณาการ นั่นคือต้องหาแนวทางสร้างโอกาสให้เกิดขึ้นแก่ชุมชน
กระจายไปสู่สังคมและประเทศในลำดับต่อไป
การพัฒนาแบบบูรณาการ คือ
การพัฒนาให้เกิดมูลค่าเพิ่มในตัวผลิต สร้างเสถียรภาพด้านราคาและด้านการตลาด
วางทิศทางการพัฒนาไปสู่ระดับสูงขึ้นเรื่อยๆ นั่นคือ การนำผลผลิตด้านการเกษตร
หรือผลพลอยได้ ทุกคนต้องร่วมรับรู้ว่าควรทำอะไร ปลูกอะไร เก็บเกี่ยวอย่างไร
ขายที่ไหน จำนวนและราคาเท่าไหร่ เราต้องตั้งเป้าหมายที่จะพัฒนาไปสู่กระบวนการใด
ทั้งนี้ ต้องกำหนดทิศทางของกระบวนการวิจัยและพัฒนาให้ชัดเจน
เพื่อให้เกิดประโยชน์อย่างคุ้มค่ามากที่สุด
เมื่อส่งเสริมแล้วและพัฒนาแล้ว
ควรมีกระบวนการพัฒนาต่อยอดความคิดของคนไทย
และกำหนดแนวทางการพัฒนาให้มีศักยภาพทั้งการลงทุนและช่องทางการตลาด
ต้องมีมาตรการให้ผลผลิตเป็นที่รู้จักของคนไทย ส่งเสริมให้คนไทยใช้
ยุทธศาสตร์ข้อนี้ คือ
การผลิตให้คนไทยในประเทศใช้เพื่อทดแทนการนำเข้าจากต่างประเทศ ลดการพึ่งพาต่างประเทศ สินค้าประเภทนี้มีหลายประเภท เช่น อาหาร
ยารักษาโรค สมุนไพรต่างๆ สินค้าต่างๆ เหล่านี้มีคุณค่าในตัวเองสามารถพัฒนาได้ เมื่อสามารถพัฒนาผลิตภัณฑ์จากชุมชนสู่สังคมด้วยกระบวนการลงทุน
สร้างเครือข่ายทางการตลาดแบบธุรกิจเครือข่ายการค้าร่วมกันต่อไปแล้ว
เราต้องวางวิสัยทัศน์มุ่งสู่การส่งออกสู่ตลาดโลก เพราะเมื่อคนไทยได้ทดลองใช้
ได้รับความนิยม เราเริ่มเรียนรู้จากภาคการปฏิบัติ มีการพัฒนาผลิตภัณฑ์ให้มีคุณภาพดีกว่าเดิม
เมื่อมีความพร้อมก็ต้องส่งออกสินค้าที่มีคุณภาพเป็นที่ยอมรับสู่ตลาดโลกต่อไปยุทธศาสตร์ข้างต้นจะทำให้เราพัฒนาอย่างเป็นกระบวนการ
เรียนรู้ความผิดพลาด ร่วมกันแก้ไขเปิดโลกทรรศ์ของชุมชน
นั่นหมายความว่าเราได้เพิ่มศักยภาพตั้งแต่สังคม ชุมชน และประเทศ
เป็นการขับเคลื่อนประเทศสู่การแข่งขันของระบบทุนนิยมบนความพร้อมของประเทศขั้นตอนที่กล่าวอาจคล้ายคลึงกับแนวทางการพัฒนาสินค้าหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์
แต่เมื่อพิเคราะห์แล้วจะเห็นว่า
กระบวนการของการผลิตสินค้าหนึ่งตำบลำนึ่งผลิตภัณฑ์นั้นเกิดขึ้นเร็วจนชุมชมขาดการเรียนรู้
วีรไท ศิริภักดี--จบ--
การพัฒนาอุตสาหกรรมเกษตรแปรรูป
ตอบลบdhousegood1.blogspot.com
การพัฒนาอุตสาหกรรมเกษตรแปรรูป Source - เสรีรายวัน (Th) Thursday, September 04, 2003 07:36 63848 XTHAI XCLUSIVE ISEP V%PAPERL P%SERE กรุงเทพฯ--4 ก.ย.--